ร้าน พีพีพระเครื่อง
www.ppphrakreung.com
0894483434
tanetbty

พระบ้านโดยแท้

ยึดถือความซื่อสัตย์และอัธยาศัยที่ดี

คุณค่าพระเครื่อง คือ พุทธคุณ-พุทธศิลป์

ความศรัทธาของท่าน คือ ความรับผิดชอบของเรา

 
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก (พร้อมใบเกียรติบัตร)


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
พีพีพระเครื่อง
โดย
พีพีพระเครื่อง
ประเภทพระเครื่อง
เครื่องราง
ชื่อพระ
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก (พร้อมใบเกียรติบัตร)
รายละเอียด
วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ ‘วัดใหญ่’ และ วัดราชบูรณะ เป็นแหล่งค้นพบพระเครื่องพิมพ์สำคัญ “พระนางพญา” 1 ในพระชุดเบญจภาคีที่เลิศเลอค่า ถึงแม้จะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อทราบประวัติความเป็นมาแล้ว ก็นับเป็นหนึ่งวัดสำคัญในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพราะ ......

นาม “วัดนางพญา” นั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อของ พระวิสุทธิกษัตริย์ตรี พระอัครชายาของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะราวปี พ.ศ.2090 – 2100 และทรงสร้าง “พระนางพญา” บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามคติความเชื่อแต่โบราณ กาลต่อมาวัดนี้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานเนื่องจากศึกสงคราม กระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ ‘พระนางพญา’ วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง

มูลเหตุอีกประการหนึ่งคือ ถ้าพิจารณาจากพุทธลักษณะจะเห็นได้ว่า องค์พระแทบทุกพิมพ์จะมีความงดงามสง่า โดยจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “อิสสตรี” จึงเรียกกันว่า “นางพญา” และได้รับสมญา “ราชินีแห่งพระเครื่อง” ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานแรกได้เป็นอย่างดี

พระนางพญา มีการขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 โดยทางวัดดำริสร้างศาลาเล็กๆ ขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด เพื่อเป็นปะรำพิธีในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ครั้นพอขุดหลุมจะลงเสาก็ได้พบ ‘พระนางพญา’ จำนวนมหาศาลฝังจมดินอยู่กับซากปรักหักพัง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ไปวัดนางพญา ก็ได้นำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนหน้า ดังนั้น พระนางพญาส่วนหนึ่งจึงมีการนำกลับยังกรุงเทพมหานคร

ต่อมาในราวปี พ.ศ.2470 สมัย พระอธิการถนอม เป็นเจ้าอาวาส องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดได้พังลง ก็ปรากฏพบพระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง ดังบทความที่ “ท่านตรียัมปวาย” ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ ว่า ‘... มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า “กรุพระนางพญา” เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝังจมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม มีการขุดพบพระนางพญา ได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย ...’

ตามประวัติความเป็นมาต่างๆ ของ “พระนางพญา วัดนางพญา” เป็นมูลเหตุสำคัญในการอ้างอิงถึงการพบพระนางพญาในกรุอื่นๆ ที่ จ.พิษณุโลก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการพบพระพิมพ์ที่มีเนื้อหาและพิมพ์ทรงแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการในหลายๆ กรุ อาทิ วัดอินทรวิหาร และวัดเลียบ เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นพระได้มาในคราวปี พ.ศ.2444 แล้วได้นำมาบรรจุตามกรุพระเจดีย์ต่างๆ ซึ่งจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง และเมื่อผ่านกาลเวลา สภาพองค์พระก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพกรุที่บรรจุ

ยังปรากฏหลักฐานจากบันทึกของ ‘ท่านตรียัมปวาย’ ว่ามีการพบพระพิมพ์นางพญากรุวัดนางพญาขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร จากการสืบสาวเรื่องราวได้พบว่าเป็นนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พร้อมหลักฐานที่สอดคล้องกัน จากคำจารึกบนแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก มีความว่า ‘…พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในกรุนี้ เป็นพระพิมพ์ที่เอามาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ในวาระดิถีอันเป็นมหามงคลนี้ ได้มีราษฎรผู้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นำพระพิมพ์มาถวายแด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอันมาก และเมื่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ ก็ได้พระราชทานจ่ายแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายใหญ่น้อย ตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วถึงกัน และเนื่องจากพระพิมพ์นี้มีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจึงได้มีผู้รวบรวมมาบรรจุไว้ในกรุพระเจีดย์นี้ ...’

พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา องค์พระจึงมีหลายสีและหลายขนาดตามลักษณะของพระเนื้อดินเผาทั่วไป พุทธศิลปะเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยา พิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยม มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) ในลักษณะอ่อนช้อย ส่วนด้านหลังเป็นหลังเรียบ แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน จึงมีรอยเหี่ยวย่นจากการหดตัวของเนื้อมวลสาร โดยสามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้ 6 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าโค้ง, พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์อกนูนใหญ่, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์เทวดา และ พิมพ์อกนูนเล็ก
ราคา
49000
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
089-448-3434
ID LINE
tanetbty
จำนวนการเข้าชม
4,214 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6