ร้าน พีพีพระเครื่อง
www.ppphrakreung.com
0894483434
tanetbty
|
|
พระบ้านโดยแท้ ยึดถือความซื่อสัตย์และอัธยาศัยที่ดี คุณค่าพระเครื่อง คือ พุทธคุณ-พุทธศิลป์ ความศรัทธาของท่าน คือ ความรับผิดชอบของเรา |
|
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์สังฆฏิ พร้อมใบเกียรติบัตร
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระสมเด็จวัดระฆัง-บางขุนพรหม-วัดเกศฯ-วังหน้า | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์สังฆฏิ พร้อมใบเกียรติบัตร |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
-รับประกันความแท้ตามตำราและหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงธรรมชาติวิทยา -เป็นพระบ้านโดยแท้ ซึ่งคุณพ่อกิมเฮี้ยง แซ่อึ้ง ได้เริ่มเก็บสะสมวัตถุมงคลตั้งแต่ ปี 2488 และได้รับจากวัดและเจ้าอาวาสโดยตรงเป็นส่วนใหญ่ -เฉพาะที่คุณพ่อเก็บไว้ก็กว่า 70 ปีแล้วครับ -การพิจารณาพระสมเด็จ 1.มีที่มา 2.มีพิมพ์ทรงตามตำรา 3.มีอายุความเก่าถึงยุคตามธรรมชาติ 4.มีมวลสาร เป็นต้น ******************* ประวัติ และ ตำนาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ วัดระฆังโฆษิตาราม ฯลฯ *อาจารย์ของท่าน สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดมหาธาตุ, สมเด็จพระโฆษาจารย์นาค วัดระฆัง, เจ้าคุณ อรัญญิก แก้ว, พระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ *ชาตะ ในสมัยรักาลที่ 1 ณ.วันที่ 17 เมษายน 2331 *มรณะ วันที่ 22 มิถุนายน 2415 *พุทธคุณ เมตตามหานิยมสูง แคล้วคลาด คงกระพันและอธิษฐานดังใจปรารถนา *บิดา ไม่ปรากฎแน่ชัด (บางตำราก็บอกว่าเป็น ร.1 หรือ ร.2) *มารดา ชื่อ ละมุด (บางตำราบอกว่าชื่อ เกศ) *ขณะที่ยังเยาว์วัยท่านได้ศึกษาอักขรที่สำนักเจ้าคุณอรัญญิก(ด้วง) วัดอินทรวิหาร *ครั้งอายุ 12 ปี ในปี 2342 ได้บวชเป็นสามเณร โดยเจ้าคุณวิริยะเถระ(อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ *ท่านโตเป็นที่โปรดปรานของ ร.1-ร.5 และมีชื่อเสียงในการเทศน์ที่ไพเราะตั้งแต่ยังเป็นสามเณร *ปี 2350 ร.1 ทรงโปรดปรานและพระกรุณาให้บวชเป็น “นาคหลวง” ที่วัดพระศรีศดาราม (วัดพระแก้ว) โดยมีสมเด็จพระสังฆราช สุก ญานสังวร วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้เรียกกันว่า “พระมหาโต” ตั้งแต่นั้นมาและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในเรื่องของการเทศน์ที่ไพเราะนัก และสอนให้ศิษย์เป็นเปรียญมามากต่อมาก *ในสมัย ร.3 ท่านทรงกรุณาสถาปนาสมณศักดิ์ให้เป็น พระราชาคณะ แต่ท่านโตก็ปฎิเสธ เนื่องด้วยเพราะไม่ยึดถือกับยศศักดิ์ และมีนิสัยแปลกๆโดยที่ท่านจะทำอะไรตามความพอใจ และไม่ยึดถือกับความพอใจของคนทั่วไป *ครั้งถึงสมัย ร.4 ได้ทรงแต่งตั้งเป็น พระราชาคณะ และครั้งนี้ท่านโตไม่ขัดราชอัธยาศัย *ร.4 ทราบว่าท่านโตมีคุณธรรมสูง จึงได้แต่งตั้งสมณศักดิ์ดังนี้ ปี 2378 สมณศักดิ์ “พระครูปริยัติธรรม” ปี 2386 สมณสักดิ์ “พระราชปัญญาภรณ์” ปี 2390 สมณศักดิ์ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก” ปี 2395 สมนศักดิ์เป็น “พระธรรมกิตติ” ปี 2407 ได้สมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรมรังสี” และราชทินนามว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ เหตุการณ์ที่น่าประทับใจของสมเด็จโต ในสมัยรัชกาลที่ 4 ของช่วงปี 2394-2411 คือ 1.ได้รับกิจนิมนต์ไปทางเรือ แล้วเห็นศิษย์แจวเรือเหนื่อย ท่านก็จะให้พักแล้วแจวเอง ซึ่งก็เคยประทะชนกับเรือของ ร.4 แต่ท่านก็ไม่ตำหนิสมเด็จโต เพราะทราบถึงอุปนิสัยใจคอมาแต่เดิม 2.รัชกาลที่ 4 มักเรียกสมเด็จโตว่า “ขรัวโต” เพราะอายุมากกว่าท่านถึง 16 ปี ทรงโปรดปรานและถูกอัธยาศัยเป็นอันมาก ด้วยการนิมนต์สมเด็จโตเข้าไปถวายพระธรรมเทศนาในวังเสมอ 2.มีโจรขโมยของที่กุฎิ และเอื่อมมือหยิบไม่ถึงสิ่งของ แต่ท่านก็ทรงเขี่ยให้ถึงมือโจร 3.ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่และวัดไว้หลายวัดด้วยกัน เช่น วัดอินทรวิหาร วัดช่องลม วัดเกศไชโย วัดสะตือ วัดลครทำ วัดบางขุนพรหม วัดพิธเพียร เป็นต้น การสร้างพระสมเด็จ แบ่งออกเป็นยุคดังนี้ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2361 – 2385ในช่วงของรัชกาลที่ 2 และ 3 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุประมาณ 30-54 ปี ถือเป็นช่วงที่ท่านเริ่มมีชื่อเสียงในด้านการเทศน์ ในช่วงปี พ.ศ. 2363-2365 สมเด็จโตได้มีโอกาสร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูง รวมทั้งการออกแบบและมวลสารในการสร้างพระพิมพ์กับสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2385 – 2393 ในช่วงของรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุ 54-62 ปีหลังจากได้กลับไปจัดงานศพให้โยมมารดา ตอนอายุ 54 ปี จากนั้นท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการธุดงค์ ทั้งทางเหนือ ลาว และเขมร รวมทั้งได้สร้างพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตรวัดกลางคลองข่อย ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2390 และ ในช่วงเวลาใกล้กัน ได้สร้างพระเจดีย์นอนที่หลังโบสถ์วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันหักพังหมดแล้ว ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2394 - 2407 ในช่วงต้นรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุ 63-76 ปี เป็นช่วงเวลาที่ท่านได้รับตำแหน่งราชาคณะตั้งแต่ที่ พระธรรมกิติ (พ.ศ. 2395) พระเทพกระวี (พ.ศ. 2397) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พ.ศ. 2407) ในช่วงเวลานี้ น่าจะมีการสร้างพระสมเด็จ เนื่องในโอกาสฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังกล่าวด้วย นอกจากนั้น ยังมีเหตุการณ์ทางด้านการเมืองเช่น การขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในปี พ.ศ. 2394 และเหตุการณ์พระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2396 ต่อมาท่านได้สร้างพระนั่งโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ในปี พ.ศ. 2406-2407 รวมทั้งได้สร้างพระสมเด็จ จำนวน 84,000 องค์ มีพิมพ์ 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น ฯลฯ เพื่อบรรจุไว้ในกรุวัดดังกล่าวด้วย ช่วงนี้หลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเป็นหนึ่งในช่างของกรมช่างสิบหมู่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบพิมพ์พระสมเด็จ และสันนิษฐานได้ว่า น่าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี เจ้ากรมช่างสิบหมู่ รวมทั้งมีความผูกพันกันกับเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้ากรมท่า และกลุ่มวัง ในการสร้างพระสมเด็จและพระพิมพ์ต่างๆ ถวายแด่องค์หลวงปู่โตเพื่ออธิษฐานจิต และว่ากันว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้อัญเชิญเหล็กไพลดำมาจากที่ใดที่หนึ่ง ด้วยวิธีใดก็ยังไม่แน่ชัด แต่ท่านก็ได้นำมาทำเป็นสร้อยประคำเหล็กไพลดำจำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่า เศษจากการกลึงลูกประคำ ได้นำไปเป็นส่วนผสมในพระสมเด็จจำนวนมาก โดยเฉพาะในพระสมเด็จที่สร้างถวายโดยกลุ่มวัง ความรู้เรื่องเหล็กไพลดำนี้ รับรู้เฉพาะในวงแคบของผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่ง จึงโปรดใช้วิจารณญาณ เพราะความจริงแท้ทั้งหมด ยังเกินวิสัยของผู้เขียน ช่วงที่ 4 พ.ศ. 2408 - 2411 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุ 77-80 ปีในปี พ.ศ. 2408 คาดว่าเป็นช่วงที่ได้สร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุกรุในเจดีย์วัดลครทำ รวมถึงการสร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุกรุพระธาตุพนมจำลองในวัดบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) มิใช่ที่พระธาตุพนม จ.นครพนม และเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวรรคต ในปี พ.ศ. 2408 ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2410 ท่านเริ่มสร้างพระยืนโต ที่วัดอินทรวิหาร จึงน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุวัดอินทรวิหารด้วย ขณะเดียวกันท่านยังได้สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระนามว่า “พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช” ที่วัดกุฎีทอง (วัดพิตเพียน) ตำบลพิตเพียนอำเภอมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ช่วงที่ 5 พ.ศ. 2411–2415 ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ต่อเนื่องจนกระทั่งมรณภาพ ดังจะเห็นได้จากในช่วงต้นของรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2411 มีการสร้างพระพิมพ์ พระบูชา และสิ่งมงคลต่างๆ จำนวนมาก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์สมบัติ พิธีพุทธาภิเษกและอธิษฐานจิต จึงเป็นวาระอันยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีมาในกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 มีการสร้างพระสมเด็จเบญจรงค์หรือเบญจสิริ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 ที่ได้ส่วนผสมหลักมาจากประเทศจีนโดยเจ้าประคุณกรมท่า (ท้วม บุนนาค) ซึ่งพระชุดนี้เรียกว่า พระสมเด็จวังหน้า ต่อมาจึงได้นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดพระแก้วในภายหลัง ในช่วงปี พ.ศ. 2413 เสมียนตราด้วง ได้มีการขอแม่พิมพ์จากสมเด็จโต เพื่อสร้างพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์ เพื่อบรรจุลงในกรุเจดีย์ใหญ่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) แต่ได้สร้างและทำพิธีที่วัดอินทรวิหาร ในปีเดียวกันนี้ เจ้าประคุณสมเด็จโต ยังสร้างพระนอนวัดสะตือ จังหวัดอยุธยา จึงน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุนี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มรณภาพ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร ได้นำพระสมเด็จออกมาแจกในงานศพจำนวนมากกว่าสามหมื่นองค์ และเป็นพระสมเด็จที่ได้รับการลงรักปิดทองส่วนใหญ่ และอีกบางส่วนจำนวนมากมีผู้นำไปไว้ที่หอสวดมนต์ และบนเพดานพระวิหารของวัดระฆังด้วย ข้อมูลอ้างอิง ที่สามารถค้นคว้าได้ คือ 1.บทสัมภาษณ์ อาจารย์ แฉล้ม โชคช่วง 2.บทสนทนากับ เจ้าพระครูบริหารคุณวัตร (อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส) 3.หนังสือประวัติหลวงปู่ภู เจ้าอาวาส วัดอินทรวิหาร 4.การบันทึกประวัติจากหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัดอัมรินทร์ธนบุรี 5.หนังสือประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ที่น่าเชื่อถือและเรียบเรียงโดย -พระครูกัลป์ยาณานุกูล -สอน โลหะนันท์ -ฉันทิชัย -อาจารย์ พน นิลผึ้ง -ท่วม บุญนาค -พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน -ตรียัมปวาย ฯลฯ |
|||||||||||||||
ราคา
|
28000 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
089-448-3434 | |||||||||||||||
ID LINE
|
tanetbty | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
1,263 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6
|
|||||||||||||||
|