พระหลวงพ่อโต พิมพ์ขัดสมาธิ กรุบางกระทิง อยุธยา No.3
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
พีพีพระเครื่อง | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อดิน-พระกรุ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระหลวงพ่อโต พิมพ์ขัดสมาธิ กรุบางกระทิง อยุธยา No.3 |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
-พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง เนื้อดิน หลังกระดาน จ.อยุธยา -ขนาดองค์พระ ฐานกว้าง 3 ซม. สูง 3.4 ซม. -พระหลวงพ่อโตเปิดกรุ 2 ครั้ง คือ ปี 2481 และ ปี 2510-2512 และพระพิมพ์นี้เข้าใจว่าเป็นกรุในครั้งที่สอง -ติชม-สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ ธเนตร์ 089-448-3434 **************************** ประวัติพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา เมืองกรุงเก่า หรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น เด่นดังด้วยพระเครื่องกรุต่างๆที่สร้างสรรค์โดยฝีมือช่างอยุธยา มาตลอดเวลากว่า 400 ปีที่อยุธยาเป็นราชธานี พระกรุเก่าที่แฝงด้วยความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ และเปี่ยมด้วยคุณค่าความงามทางพุทธศิลป์ของอยุธยานั้น ล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงเลื่องลือในหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่องตลอดมาและในบรรดาพระเครื่องยอดนิยมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จัดเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับแนวหน้าอีกพิมพ์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันมานาน เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองอยุธยาเลยทีเดียว ความจริงนั้น พระหลวงพ่อโต ได้พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วตามกรุต่างๆ ทั้งในอยุธยา เช่น กรุวัดใหญ่ชัยมงคลกรุวัดมเหยงค์ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดราชบูรณะ กรุบึงพระราม และจังหวัดอื่นๆ เช่น ใน กทม.ได้พบที่กรุวัดหนัง วัดระฆัง วัดสระเกศ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังได้พบที่ นนทบุรี ปทุมธานี รวมไปถึงที่กรุวัดเหนือ จ.กาญจนบุรีก็ยังได้พบพระหลวงพ่อโตขึ้นกรุมาพร้อมกับพระท่ากระดานอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีการเปิดกรุครั้งใดก็มักจะพบพระหลวงพ่อโตที่เป็นทั้งพระเนื้อดิน และพระเนื้อชินปะปนอยู่ในกรุเหล่านี้ด้วยเสมอ ในจำนวนพระหลวงพ่อโตกรุต่างๆเหล่านี้ กรุพระหลวงพ่อโตที่ขุดพบ และมีความยิ่งใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดนั้นได้แก่ "พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง" ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งที่นี่ได้พบพระหลวงพ่อโตจำนวนมากที่สุด อีกทั้งยังได้พบแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์พระหลวงพ่อโตจำนวนมากบรรจุรวมอยู่ในกรุนี้ด้วย หลักฐานสำคัญดังกล่าวจึงทำให้เชื่อว่า ที่กรุบางกระทิงนี้ น่าจะเป็นแหล่งต้นกำเนิดของพระหลวงพ่อโต ส่วนพระที่พบในกรุอื่นนั้น น่าจะเป็นลักษณะของพระที่นำไปฝากกรุในภายหลัง พระหลวงพ่อโต วัดบางกระทิง จะมีการแตกกรุออกมาเมื่อไรนั้นคงไม่มีใครทราบช่วงเวลาที่แน่ชัดนักเพราะเดิมทีนั้นได้มีผู้พบเห็นพระหลวงพ่อโตตกหล่นอยู่ตามบริเวณพื้นที่รอบๆวัดบางกระทิงมานานแล้วแต่ที่แตกกรุอย่างเป็นทางการและมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอน ก็คือเมื่อปี 2481 เนื่องจากวัดได้รื้อพระอุโบสถหลังเดิมเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบกรุพระหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมากมายหลายหมื่นองค์ ซึ่งในครั้งนั้นทางวัดได้แจกจ่ายไปยังผู้ร่วมกุศลทีร่วมกันสร้างโบสถ์ จนเหลือพระอยู่ในราว 10 ปี๊ป ซึ่งพระที่เหลือจำนวนนี้ทางวัดได้นำไปบรรจุที่ฐานชุกชีพระประธานของพระอุโบสถหลังใหม่ ต่อมาในปี 2510 ได้มีมิจฉาชีพมาลักลอบขุดพระที่บรรจุไว้ที่ฐานชุกชีไปบางส่วน ทางวัดจึงได้นำพระจากใต้ฐานชุกชีที่เหลือขึ้นมาเพื่อป้องกันคนร้ายมาลักลอบขุดอีก และในครั้งนี้ก็ยังได้พบพระหลวงพ่อโตที่ฐานชุกชีอีกกรุหนึ่งโดยบังเอิญ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับที่ทางวัดบรรจุไว้เมื่อคราวสร้างโบสถ์ พระหลวงพ่อโตที่พบใหม่นี้ มีจำนวนถึง 84000 องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติการสรางพระพิมพ์ในสมัยโบราณ และทางวัดได้ให้กรมศิลปากรมาตรวจพิสูจน์พระดังกล่าว กรมศิลปากรได้ลงความเห็นว่า พระหลวงพ่อโตที่พบใหม่โดยบังเอิญนี้ เป็นพระที่สร้างยุคหลังกว่าพระหลวงพ่อโตที่พบครั้งแรก นั่นคือ พระหลวงพ่อโตที่พบในครั้งแรกเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา ส่วนที่พบใหม่โดยบังเอิญนี้เป็นพระที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะเป็นพระที่สร้างต่างยุคต่างเวลากันก็จริงอยู่ แต่สำหรับวงการนักสะสมแล้ว พระหลวงพ่อโตกรุบางกระทิงทั้งสองยุค จะมีการสะสมรวมกันไม่มีการแบ่งแยกว่าเป็นพระยุคแรกหรือยุคหลัง เพราะเห็นว่าพุทธคุณที่ปรากฏก็เน้นหนักไปทางด้านคงกระพันเช่นเดียวกัน พุทธลักษณะของพระหลวงพ่อโต เป็นพระประดิษฐานอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยม ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย องค์พระนูนเด่นล่ำสัน พระพักตร์ใหญ่ด้วยลักษณะเด่นเช่นนี้ นักสะสมจึงถวายพระนามท่านว่า "พระหลวงพ่อโต" ส่วนมากแล้วรายระเอียดของเส้นสายลวดลายต่างๆทั้ง ปาก คอ คิ้ว คาง เส้นสังฆาฏิ มักติดพิมพ์คมชัดแทบทุกองค์ ส่วนขนาดนั้นก็แตกต่างลดหลั่นกันเล็กน้อย พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เท่าที่พบ จะเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งสิ้น มีทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พระที่แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. 2481 ตามผิวพระจะไม่ปรากฏคราบกรุ หากแต่มีฝ้ากรุสีขาวหม่นเกาะจับประปราย โดยเฉพาะในองค์ที่ไม่ผ่านการสัมผัสจับต้องมากนักจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพกรุที่อัดแน่นไปด้วยทรายจึงเป็นตัวป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี คราบกรุและราดำจึงไม่ปรากฏให้เห็นในพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เนื้อหาของพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิงนั้นมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพของกรุที่พบ เช่น ในพระหลวงพ่อโตที่แตกกรุเมื่อปี 2481 ซึ่งเป็นพระในสมัยอยุธยานั้น ก็จะมีทั้งประเภทเนื้อที่ค่อนข้างแกร่ง และประเภทเนื้อที่ค่อนข้างฟ่าม แต่โดยรวมแล้วเนื้อของพระหลวงพ่อโตจะต้องไม่แกร่งจนกระด้างและเนื้อต้องแห้งอย่างมีน้ำมีนวล ลักษณะของเนื้อพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิงที่สร้างในสมัยอยุธยา จะมีส่วนของเม็ดทรายเม็ดกรวดเล็กๆ ตลอดจนเกล็ดทรายเงินทรายทองปะปนอยู่ในเนื้อ ลักษณะผิวพระจะไม่เรียบปรากฏเป็นรอยพรุนเป็นแอ่งคลื่นอยู่โดยทั่วไป ส่วนเนื้อพระสมัยรัตนโกสินทร์ จะมีเนื้อละเอียด เม็ดกรวดเม็ดทรายน้อย และผิวพระค่อนข้างเรียบ มีฝ้ากรุหรือคราบละอองทรายสีขาวเกาะอยู่ ด้านหลังของพระหลวงพ่อโต ส่วนใหญ่มักมีรอยปาด ที่เรียกกันว่า "รอยกาบหมาก" รอยดังกล่าวนี้คือรอยอันเกิดจากการตกแต่งองค์พระด้านหลังด้วยการปาดเอาเนื้อส่วนที่นูนออกไป โดยที่เนื้อพระหลวงพ่อโตมีส่วนรอยดังกล่าวขึ้นมาผสมของเม็ดกรวดทรายอยู่ด้วย เมื่อถูกปาด เม็ดกรวดเม็ดทรายเหล่านี้ก็จะครูดดันไปกับเนื้อพระ ทำให้เกิดเป็นรอยดังกล่าวขึ้นมา |
|||||||||||||||
ราคา
|
3500 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
089-448-3434 | |||||||||||||||
ID LINE
|
tanetbty | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
50 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6
|
|||||||||||||||
|